วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564

รวมคำที่สับสนบ่อยในการเขียนนิยาย


ไฉน (ฉะไหฺน) ว. ฉันใด, เช่นไร, อย่างไร, เช่น เป็นไฉน, ทำไม, เหตุใด, เช่น ไฉนจึงไม่มาให้ทันเวลา.


ที่ไหน คำใช้ในข้อความคาดคะเนว่าคงจะไม่เป็นเช่นนั้น เช่นนี้ มีความหมายว่า ไฉน, ฉันใด, อย่างไร, เช่น แล้วว่าอนิจจาความรัก พึ่งประจักษ์ดั่งสายน้ำไหล ตั้งแต่จะเชี่ยวเป็นเกลียวไป ที่ไหนเลยจะไหลคืนมา (อิเหนา).


---


ไย ว. ไฉน, อะไร, ทำไม, เช่น จะช้าอยู่ไย ไยจึงไม่มา.



---


“กริยา” กับ “กิริยา” ต่างกันอย่างไร

- กริยา คือ คำที่แสดงอาการของนามหรือสรรพนาม

- กิริยา คือ การกระทำ, อาการที่แสดงออกทางกายตามความหมายเรื่องมารยาท



-----



โขก-โขลก

          โขก เป็นคำกริยามีหลายความหมาย ใช้เรียกกริยาที่คว่ำหน้าลงแล้วเอาหน้าผากกระแทกพื้น เช่น คนไข้เครียดจัดถึงขั้นเอาศีรษะโขกผนังห้อง. ทหารในละครเกาหลีโขกศีรษะกับพื้นยอมรับความผิด

          โขก มีความหมายว่า เคาะลง เขกลง เช่น เขาโขกหมากรุกเสียงดังมาก. คำว่า โขกหมากรุก ยังหมายถึง เล่นหมากรุก เช่น ผู้สูงอายุในหมู่บ้านนั่งโขกหมากรุกกันทุกวัน

          โขก ใช้ในความหมายเปรียบเทียบว่า กดขี่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค โดยตั้งราคาขายสูงขึ้นกว่าปกติ เช่น ร้านนี้ขายของโขกราคา

          โขกเมื่อใช้รวมกับคำอื่น ๆ เป็น โขกสับ หมายถึงด่าว่าทุบตี เช่น น่าสงสารนางเอื้อยในเรื่องปลาบู่ทอง ที่ถูกแม่เลี้ยงโขกสับทุกวัน

          ส่วนคำว่า โขลก เป็นกริยา หมายถึง ตำให้ละเอียด เช่น คุณแม่โขลกน้ำพริกแกงเขียวหวาน. นอกจากนี้ยังหมายถึง ตำให้เหนียว เช่น คุณพ่อโขลกแป้งเพื่อทำขนมจีน

          โขลกที่ใช้ซ้ำว่า โขลก ๆ ใช้ขยายอาการไอแบบมีเสมหะ เช่น เขาไอโขลก ๆ มาหลายวันแล้วไม่ยอมไปหาหมอรักษาเสียที



-----



การ หรือ การณ์

*คำว่า การ คือ งาน เรื่อง ธุระ เช่น การค้า การเรียน การทาง

-ส่วนคำว่า การ ที่อยู่ข้างหลัง หมายถึง ผู้ทำ เช่น กรรมการ ตุลาการ หรือ คำเฉพาะอื่น ๆ เช่น กงการ วิชาการ

*คำว่า การณ์ คือ เหตุ เค้า มูล เช่น สังเกตุการณ์ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ เหตุการณ์



------



พล่าม

[พฺล่าม] ว. เพ้อเจ้อ, อาการที่พูดมากจนเสียประโยชน์, อาการที่พูดซ้ำ ๆ ซาก ๆ ไม่รู้จักจบจนน่ารำคาญ.


พร่ำ

[พฺรํ่า] ว. รํ่าไป, ซํ้า ๆ ซาก ๆ, บ่อย ๆ, เช่น พร่ำบ่น พร่ำเพ้อรำพัน พร่ำสาธยายมนตร์. //

ลูกคำของ "พร่ำ" คือ พร่ำพลอด พร่ำเพรื่อ พร่ำเพ้อ



-----



เค้น -- บีบเน้นลงไปโดยแรง บีบบังคับหรือฝืนทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง


เคล้น -- บีบเน้นไปมา



-----



'ช่าง' กับ 'ชั่ง'


ช่าง ๑
น. ผู้ชำนาญในการฝีมือหรือศิลปกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ช่างตัดเสื้อ ช่างไม้ ช่างทอง.
ลูกคำของ "ช่าง ๑" คือ ช่างฝีมือ ช่างฟิต ช่างเครื่อง ช่างไฟ 


ช่าง ๒ 
ว. มีนิสัยชอบในทางใดทางหนึ่ง เช่น ช่างคิด ช่างพูด ช่างประดิษฐ์, มีลักษณะโน้มไปในทางนั้น ๆ เช่น ช่างโง่จริง ๆ ช่างเก่งจริง ๆ.


ช่าง ๓
ว. ปล่อย, วางธุระ, เช่น ช่างเถิด ช่างมัน.
ลูกคำของ "ช่าง ๓" คือ ช่างปะไร 


ชั่ง
(๑) น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๒๐ ตำลึงหรือ ๘๐ บาท เป็น ๑ ชั่ง
(๒) น. ชื่อมาตราวัดน้ำหนักตามวิธีประเพณีแบบไทย ๒๐ ตำลึง เป็น ๑ ชั่ง หรือมีน้ำหนักเท่ากับ ๑,๒๐๐ กรัม, ถ้าเป็นชั่งจีนมีนํ้าหนักเท่ากับ ๖๐๐ กรัม คือเป็นครึ่งหนึ่งของชั่งไทย.
(๓) ก. กระทำให้รู้นํ้าหนักโดยใช้เครื่องชั่งหรือตราชูเป็นต้น เช่น ชั่งเนื้อหมูให้สักครึ่งกิโลกรัม เมื่อเช้าชั่งน้ำหนัก ลดไป ๒ กิโลกรัม.

ลูกคำของ "ชั่ง" คือ ชั่งหลวง ชั่งใจ 



-----


คร่ำ ๑ 
[คฺรํ่า] ว. เรียกของเหลวในถุงเยื่อหุ้มลูกในมดลูกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทำหน้าที่ลดผลการกระทบกระแทก และช่วยหล่อลื่นในตอนคลอดเป็นต้น ว่า นํ้าครํ่า เรียกถุงเยื่อหุ้มที่บรรจุน้ำคร่ำ ว่า ถุงน้ำคร่ำ.

คร่ำ ๒ 
[คฺรํ่า] ว. เก่ามาก เช่น โบสถ์หลังนี้เก่าคร่ำ.
ลูกคำของ "คร่ำ ๒" คือ คร่ำคร่า คร่ำครึ คร่ำหวอด คร่ำเครอะ 

คร่ำ ๓ 
[คฺรํ่า] (กลอน) ก. ร้องไห้.
ลูกคำของ "คร่ำ ๓" คือ คร่ำครวญ 

คร่ำ ๔ 
[คฺร่ำ] ก. เอาเส้นเงินหรือเส้นทองกดและตอกให้ติดบนผิวเหล็ก ทำเป็นลวดลาย, ถ้าเป็นลวดลายเงิน เรียก คร่ำเงิน, ถ้าเป็นลวดลายทอง เรียก คร่ำทอง.

*คร่ำเคร่ง=หมกมุ่น (ทำงาน) หามรุ่งหามค่ำ


คล่ำ 
(๑) [คฺลํ่า] น. หมู่.
(๒) [คฺลํ่า] ว. สับสน, เกลื่อนกล่น, มาก, มักใช้คู่กับคำ คลา เป็น คลาคล่ำ.




-----





© http://www.royin.go.th/